6.7.58

คำบ่งชี้ こ・そ・あ

คำบ่งชี้ こ・そ・あ



これ/それ/あれ

【ไวยากรณ์】เป็นสรรพนามใช้บ่งชี้สิ่งของ(เล็กใหญ่ ใช้ได้หมด)
  1. これ นี่, สิ่งนี้ (ใกล้ตัวผู้พูด) 
  2. それนั่น, สิ่งนั้น (ใกล้ตัวผู้ฟัง) 
  3. あれโน่น, สิ่งโน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 1】

กรณีผู้พูดและผู้ฟังอยู่บริเวณเดียวกัน 
  1. これ นี่, สิ่งนี้ (ใกล้ผู้พูดและผู้ฟัง)  
  2. それนั่น, สิ่งนั้น (ห่างออกไปหน่อย) 
  3. あれโน่น, สิ่งโน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 2】
ตัวอย่าง
これはにほんごのしんぶんです。นี่คือหนังสือพิมพ์ภาษาญี่ปุ่น
えいごのじしょはそれです。พจนานุกรมภาษาอังกฤษคืออันนั้น
あれはとしょかんです。โน่นคือห้องสมุด 

 คำถามจะใช้「どれ」 “อันไหน” (กรณีมีของให้เลือกตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไป ถ้ามี 2 อย่างใช้ どちら)

ตัวอย่าง 
A: あなたのかさはどれですか。ร่มของคุณคือคันไหน 
B: それです。  คันนั้น


これ、それ、あれ、どれ เป็นคำสรรพนามแทนสิ่งของ มีรูปแบบการใช้งาน คือ
「これ」
「それ」
「あれ」
+ は +「คำนาม」+ です
คำนาม」+ は +「どれ」+ ですか「どれ」+ が +「คำนาม」+ ですか
これ は 何 です か。
Kore wa nan desu ka
นี่คืออะไรครับ/ค่ะ
それ は 本 です。
Sore wa hon desu
นั่นคือหนังสือครับ/ค่ะ
あれ は ノート です か。
Are wa nooto desu ka
โน่นคือสมุดหรือครับ/ค่ะ
いいえ、あれ は ノート では ありません。教科書 です。
Iie, are wa nooto dewa arimasen. kyoukasho desu
ไม่ใช่ โน่นไม่ใช่สมุด ตำราเรียนครับ/ค่ะ

どれ  えんぴつ です か。
Dore ga enpitsu desu ka
อันไหนคือดินสอครับ/ค่ะ
これ  えんぴつ です。
kore ga enpitsu desu
อันนี้คือดินสอครับ/ค่ะ
ペン は どれ です か。
Pen wa dore desu ka?
ปากกาคืออันไหนครับ/ค่ะ
ペン は あれ です。
Pen wa are desu
ปากกาคืออันโน้นครับ/ค่ะ
 คำอธิบาย
  • これ (kore)、それ (sore)、あれ (are) เป็นคำใช้แทนสิ่งของ ตามระยะที่อยู่ห่างจากผู้พูดและผู้ฟัง
  • กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ใกล้กัน
    • これ จะใช้แทนสิ่งของที่อยู่ใกล้กับผู้พูดและผู้ฟัง
    • それ จะใช้แทนสิ่งของที่อยู่ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง
    • あれ จะใช้แทนสิ่งของที่อยู่ไกลมากยิ่งขึ้นจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
  • กรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังอยู่ห่างกัน
    • これ จะใช้แทนสิ่งของที่อยู่ใกล้กับผู้พูด แต่ไกลจากผู้ฟัง
    • それ จะใช้แทนสิ่งของที่อยู่ไกลจากผู้พูด แต่ใกล้กับผู้ฟัง
    • あれ จะใช้แทนสิ่งของที่อยู่ไกลจากทั้งผู้พูดและผู้ฟัง
  • เรื่องสำคัญ
    แม้จะเรียนมาในบทก่อนหน้านี้แล้วว่า ประโยคคำนาม จะใช้ は เป็นคำช่วยเพื่อชี้ประธาน
    แต่หากเป็นประโยคคำนามที่เป็นคำถาม โดยมีคำปุจฉาสรรพนาม (ใคร อะไร ที่ไหน อันไหน) เป็นประธาน ก็จะเปลี่ยนคำช่วยชี้ประธานจาก  มาเป็น  แทน ทั้งในประโยคคำถามและประโยคคำตอบ ตามตัวอย่างที่ ⑤ และ ⑥สาเหตุเนื่องจาก は เป็นคำช่วยที่ใช้เน้นย้ำหรือเจาะจงประธาน ดังนั้น เมื่อผู้พูดก็ไม่ทราบว่ากำลังกล่าวถึงอะไร และใช้คำปุจฉาสรรพนามมาเป็นประธาน จึงไม่เป็นการเน้นย้ำหรือเจาะจงประธาน จึงต้องเปลี่ยนมาใช้ が เป็นคำช่วยชี้ประธานแทน
  • คำสรรพนาม これ、それ、あれ、どれ สามารถเป็นประธานในประโยคคุณศัพท์และประโยคกริยาได้เช่นเดียวกัน เช่น
    • これ は 大きい です
      Kore wa ookii desu
      อันนี้ใหญ่ครับ/ค่ะ
    • これ が あります か
      Kore ga arimasu ka
      อันนี้มีไหมครับ/ค่ะ

 อ่านตรงนี้หน่อย
  • これ、それ、あれ นอกจากจะใช้แทนสิ่งของแล้ว ยังใช้แทนสถานที่ พืช หรือสัตว์ก็ได้ (แต่จะไม่ใช้แทนคน) เช่น
    • あれ は 学校 です (Are wa gakkou desu) : โน่นคือโรงเรียน
    • それ は パンダ です (Sore wa panda desu) : นั่นคือหมีแพนด้าครับ/ค่ะ
この/その/あの

この
その  + คำนาม
あの

【ไวยากรณ์】ใช้กับคำนามเพื่อบ่งชี้สิ่งนั้นๆ
  1. この  -นี้ (ใกล้ตัวผู้พูด) 
  2. その-นั้น (ใกล้ตัวผู้ฟัง) 
  3. あの-โน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 1】

กรณีผู้พูดและผู้ฟังอยู่บริเวณเดียวกัน 
  1. この -นี้ (ใกล้ผู้พูดและผู้ฟัง)  
  2. その-นั้น (ห่างออกไปหน่อย) 
  3. あの-โน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 2】

ตัวอย่าง
  • このへやは きれいです。ห้องนี้สะอาด
  • その本は わたしのです。หนังสือเล่มนั้นเป็นของฉัน
  • わたしの先生は あの人です。อาจารย์ของฉันคือคนนั้น
A: 「あのかばんは だれのですか。」B: 「あれは マリオさんのです。」
A: “กระเป๋าใบโน้นเป็นของใคร”  B: “โน่นเป็นของคุณมาริโอ้”

A: 「あのたてものは 何ですか。」B: 「あれは としょかんです。」
A: “อาคารหลังโน้นเป็นอะไร”  B: “โน่นเป็นห้องสมุด”
  
คำถามจะใช้「どのN」 “ -ไหน”

ตัวอย่าง
A: マリオさんは どの人ですかですか。คุณมาริโอ้คือคนไหน
B: あの ぼうしを かぶっている人です。คนที่สวมหมวกสีแดงคนโน้น

กรณีมี Adj ขยายคำนาม ต้องเรียงแบบนี้ค่ะ  
この/その/あの+ Adj+ N

ตัวอย่าง
あの きれいな女の人は だれですか。 ผู้หญิงสวยๆโน้นเป็นใคร

ここ/そこ/あそこ

【ไวยากรณ์】เป็นสรรพนามใช้บ่งชี้ตำแหน่ง, สถานที่
  1. ここ  ที่นี่, ตรงนี้ (ใกล้ตัวผู้พูด) 
  2. そこที่นั่น, ตรงนั้น (ใกล้ตัวผู้ฟัง) 
  3. あそこที่โน่น, ตรงโน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 1】

กรณีผู้พูดและผู้ฟังอยู่บริเวณเดียวกัน
  1.  ここที่นี่, ตรงนี้ (ใกล้ผู้พูดและผู้ฟัง)  
  2. そこที่นั่น, ตรงนั้น (ห่างออกไปหน่อย) 
  3. あそこที่โน่น, ตรงโน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 2】

ตัวอย่าง
  • ここはきょうしつです。ที่นี่คือห้องเรียน
  • そこはかいぎしつです。ที่นั่นคือห้องประชุม
  • しょくどうはあそこです。โรงอาหารอยู่ที่โน่น
  • マリオさんのかさはそこにあります。ร่มของคุณมาริโอ้อยู่ที่นั่น
  • あそこにねこがいます。มีแมวอยู่ตรงโน้น


คำถามจะใช้「どこ」 “ที่ไหน, ตรงไหน”

ตัวอย่าง

A: すみません、トイレはどこですか。ขอโทษค่ะ ห้องน้ำอยู่ที่ไหนครับ
B: あそこです。อยู่ที่โน่นครับ
A: ありがとうございました。ขอบคุณครับ

A: せんせいのくるまはどこにありますか。รถอาจารย์อยู่ที่ไหน
B: あそこです。อยู่ที่โน่นครับ 


こちら/そちら/あちら

【ไวยากรณ์】เป็นสรรพนามใช้บ่งชี้ทิศทาง, สถานที่(เป็นคำสุภาพของここ/そこ/あそこ)
  1. こちら  ที่นี่, ทางนี้ (ใกล้ตัวผู้พูด) 
  2. そちらที่นั่น, ทางนั้น (ใกล้ตัวผู้ฟัง) 
  3. あ ちら ที่โน่น, ทางโน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 1】

กรณีผู้พูดและผู้ฟังอยู่บริเวณเดียวกัน 
  1. こちらที่นี่, ทางนี้ (ใกล้ผู้พูดและผู้ฟัง)  
  2. そちらที่นั่น, ทางนั้น (ห่างออกไปหน่อย) 
  3. あちらที่โน่น, ทางโน้น (ไกลจากผู้พูดและผู้ฟัง) 【ดูรูปที่ 2】

ตัวอย่าง
  • こちらはポンらーさんです。ทางนี้คือคุณพรหล้า
  • でんわはあちらです。โทรศัพท์อยู่ทางโน้น


คำถามจะใช้「どちら」 “ที่ไหน, ทางไหน”  และ “อันไหน” (ให้เลือกระหว่างของ 2 อย่าง  ถ้ามากกว่า 2 ใช้ どれ

ตัวอย่าง
A: おくにはどちらですか。คุณมาจากประเทศอะไรครับ
B: アメリカです。อเมริกาครับ

A: こやま先生は どちらですか。อาจารย์โคะยะมะอยู่ที่ไหนครับ
B: あちらです。อยู่ที่โน่นครับ  

A: コーヒーと お茶と どちらが いいですか。กาแฟกับชา รับอะไรดีครับ(เลือกของ2สิ่ง)
B: コーヒーを おねがいします。ขอกาแฟก็แล้วกันครับ  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น