24.6.58

การขอบคุณ / ขอโทษ และ การกล่าวลา ภาษาญี่ปุ่น

การขอบคุณ / ขอโทษ และ การกล่าวลา ภาษาญี่ปุ่น

ในส่วนของการ ขอโทษ หรือ ขอบคุณ เป็นมารยาททางสังคมซึ่งสำหรับคนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง  โดยจะมีลักษณะการใช้ต่างกันไปตามสถานการณ์ ดังนี้


ตัวอย่าง ''การขอบคุณ''

ありがとうございます  (อะริงะโตะโกะไซมัส)
แปลว่า  ขอบคุณ

 ใช้ขอบคุณกันแบบทาง  หรือ สุภาำพ   ถ้าเป็นคนที่สนิท หรือ เพื่อน ใช้แค่  ありがとう  ( อะริงะโตะ) ก็พอ

どうも ありがとう ございます。 (โด้โหมะ อะริงะโตะโกะไซมัส)
แปลว่า  ขอบคุณมาก

ใช้เวลาที่เราขอบคุณมากๆจริงๆแสดงถึงความซาบซึ้ง จริงใจ


การตอบรับ ''คำขอบคุณ'' 

เมื่อเขาขอบคุณเราก็ควรตอบกลับไปว่า 

どういたしまして   ( โด้อิตะชิมะชิเตะ )
แปลว่า  ไม่เป็นไรครับ / ค่ะ                                 

หรือใช้คำว่า

こちらこそ     ( โคะชิระโคะโซะ )
แปลว่า  ด้วยความยินดี
ตัวอย่าง ''การขอโทษ''

すみません。( ซึมิมะเซน )
แปลว่า   ขอโทษครับ / ค่ะ

ใช้เวลาทำผิดเล็กๆน้อยๆ  หรืออาจรบกวนให้ผู้อื่นทำสิ่งที่เราต้องการ เหมือนคำว่า excuse me

ごめんなさい。( โกะเมนนะไซ )
แปลว่า ขอโทษครับ / ค่ะ

ใช้เวลาทำผิดขั้นหนักหน่อย เช่น ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เหมือนคำว่า  sorry

ほんとうに ごめんなさい   ( ฮนโตนิ  โกะเมนนะไซ )
แปลว่า  ขอโทษจริงๆครับ / ค่ะ
ใช้เวลาทำผิดขั้นแรง  เช่น  ทำของในร้านแตก  อาจโดนไล่ออก  =.,= 


การตอบรับ ''คำขอโทษ''

いいですよ    ( อิเดซโยะ )
แปลว่า   ไม่เป็นไร

ごしんぱいなく    ( โกะชินไปนะคุ )
แปลว่า  ไม่ต้องห่วง / กังวล

きに しないで    ( คินิ  ชินะอิเดะ  )
แปลว่า  ช่างมันเถอะ

しんぱい しないで    ( ชินไพ ชินะอิเดะ )
แปลว่า   ไม่เป็นไรหรอก


ตัวอย่างการ ''บอกลา''

さようなら   ( ซาโยนะระ )
แปลว่า   ลาก่อน

คนไทยส่วนมากจะรู้จักคำนี้แต่อาจไม่คุ้นกับความหมายว่า ''ลาก่อน'' เพราะมันฟังดูเศร้าๆ
สำหรับคนญี่ปุ่นก็เช่นกัน คำว่า ซาโยนาระ ใช้ในกรณีที่ต้องจากกันโดยที่ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้พบกันอีกหรือไม่ หรือ ใช้เมื่อต้องการที่จะประชดว่า "อย่าเจอกันอีกเลย" เหมือนในการ์ตูนญี่ปุ่น

またあいましょう   ( มะตะไอมาโช่ )
แปลว่า  แล้วเจอกัน

ใช้บอกลาทั่วไป  เป็นคำที่มีมารยาทใช้จบบทสนทนา

じゃ、またね    ( จ้า, มะตะเนะ  )
แปลว่า   บาย  แล้วเจอกัน 

การนับตัวเลขภาษาญี่ปุ่น

การนับเลข ภาษาญี่ปุ่น 



การนับเลขตั้งแต่ 1 ถึง ล้านเลย  รับรองว่าไม่ยากแน่นอน ในตอนที่ 1 จะสอนนับ
1 - 999 นะครับผม
1   いち     ichi   ( อิจิ )
2   に        ni      ( นิ )
3   さん     san    ( ซาน )
4  よん     yon    ( โย่ง )
5   ご        go      ( โก๊ะ )
6   ろく     roku   ( โระคุ )
7   なな    nana   ( นานะ )
8   はち   hachi  ( ฮะจิ )
9   きゅう kyu    ( คิว )
10 じゅう  juu    ( จู )

ถ้าจำข้างบนได้  11  -  99  ก็หวานหมูละครับ  แค่นำเลขมาผสมกันก็พอ   เหมือนภาษาไทยเลย
ตัวอย่าง  10  ( じゅう ) + 1 ( いち) =  11 ( じゅういち )
12   じゅうに           juuni         ( จูนิ )
13   じゅうさん        juusan      ( จูซาน )
14   じゅうよん       juuyon      ( จูโย่ง )
15   じゅうご           juugo       ( จูโก๊ะ )
16   じゅうろく         juuroku    ( จูโระคุ )
17   じゅうなな        juunana    ( จูนานะ )
18   じゅうはち       juuhachi    ( จูฮะจิ )
19   じゅうきゅう     juukyu      ( จูคิว )

แล้วถ้า  21  ล่ะ     ก็นำเลขผสมกันเหมือนเดิมครับ

ตัวอย่าง   20  ( に じゅう )  + 1 ( いち )  =  21  (  に じゅういち  )
แค่นำเลข 2 มาไว้หน้า  10  ก็จะกลายเป็น  20  แล้วครับ
30  ก็นำเลข  3  มาไว้หน้า  10
37   さん じゅうなな      sanjuunana      ( ซานจูนานะ )
45   よんじゅうきゅう    yonjuukyu       ( โย่งจูคิว )
55   ごじゅうご              gojuugo          ( โก๊ะจูโก๊ะ )
                                     .
                                     .
                                     .
92   きゅうじゅうに       kyujuuni         ( คิวจูนิ )
เอาล่ะหลักสิบก็ผ่านมาแล้ว  มาหลักร้อยต่อกันเลยจะยาวหน่อย  สติอย่าเพิ่งหลุดนะครับ  อีกนิดเดียวๆ

ひゃく   hyaku   ( เฮียคุ )
แปลว่า  ร้อย  /  หนึ่งร้อย  
หลักร้อยก็เป็นการผสมเลข เหมือนเดิม แต่จะมี
จุดเปลี่ยน  การออกเสียง  ของ  300 ,  600  ,  800
100  ひゃく          hyaku          ( เฮียคุ )
200 にひゃく  nihyaku          ( นิเฮียคุ )
300 さんびゃく *  sanbyaku   ( ซานเบียคุ )
400 よんひゃく  yonhyaku         ( โย่งเฮียคุ )
500 ごひゃく  gohyaku          ( โก๊ะเฮียคุ )
600 ろっぴゃく *   roppyaku  ( รปเปียคุ )
700  ななひゃく  nanahyaku ( นานะเฮียคุ )
800  はっぴゃく *   happyaku  ( ฮัปเปียคุ )
900  きゅうひゃく  kyuuhyaku ( คิวเฮียคุ )
** โดยเลข  300 * จะเปลี่ยน   hyaku   ( เฮียคุ ) เป็น  byaku ( เบียคุ )
       เลข  600 * จะเปลี่ยน   hyaku   ( เฮียคุ ) เป็น  pyaku ( เปียคุ )
       เลข  800 * จะเปลี่ยน   hyaku   ( เฮียคุ ) เป็น  pyaku ( เปียคุ )

123    ひゃくにじゅう さん               hyaku - nijuu - san              ( เฮียคุนิจูซาน )
333    さんびゃくさんじゅうさん      sanbyaku - sanjuu - san      ( ซานเบียคุซานจูซาน )
570    ごひゃく ななじゅう             gohyaku - nanajuu              ( โก๊ะเฮียคุนานะจู )
669    ろっぴゃくろくじゅうきゅう    roppyaku - rokujuu - kyu   ( รปเปียคุโระคุจูคิว )
881   はっぴゃくはちじゅういち     happyaku - hachijuu - ichi   ( ฮัปเปียคุฮะจิจูอิจิ )
945   きゅうひゃくよんじゅうきゅう    kyuhyaku - yonjuu - go   ( คิวเฮียคุโย่งจูโก๊ะ )

เท่านี้เพื่อนๆก็พูดหรือเขียน  1 - 999 เป็นภาษาญี่ปุ่นได้แล้วนะครับ แล้วเราไปต่อกันใน
นับหนึ่งล้านเลย

せん  sen   (เซน)
แปลว่า    1,000

ในหลักพัน  ก็มีการ  เปลี่ยนคำออกเสียง  ( อีกแล้ว  )  สำหรับ  6000 และ  8000 ให้จำกัน
1,000    せん              เซน
2,000    にさん           นิ-เซน
3,000    さんぜん   ซาน-เซน
4,000    よんせん      โย่ง-เซน
5,000     ごせん        โก๊ะ-เซน
6,000    ろくせん        รค-เซน **
7,000    ななせん      นา-นะ-เซน
8,000    はっせん      หัด-เซน **
9,000    きゅうせん   คิว-เซน

เลขก็ผสมเหมือนเดิมแต่จะเพิ่มความยาวย๊าวยาวให้มึนกันไป   ( คนพิมพ์ก็เริ่มเมาละ )
1,919    せんきゅうひゃくじゅうきゅう    sen kyuhyaku juukyu   ( เซนคิวเฮียคุจูโก๊ะ )
4,321    よんせんさんびゃく に じゅういち   yonsen sanhyaku nijuuichi   ( โย่งเซนซานเฮียคุนิจูอิจิ ) 
6,669     ろくせんろっぴゃくろくじゅうきゅう   roksen  roppyaku  rokujuu kyu ( รคเซนรปเปียคุโระคุจูคิว )
                                                                      .
                                                    .
9792   きゅうせんななひゃくきゅうじゅうに  kyusen nanahyaku kyujuuni ( คิวเซนนานะเฮียคุคิวจูนิ )

เอาล่ะมาถึง ขั้นสุดท้าย กันแล้ว  ตั้งสติดีๆ จะถึงหนึ่งล้านแล้ว
いちまん   ichiman  ( อิจิมัง )
แปลว่า   หมื่น / หนึ่งหมื่น

ญี่ปุ่นจะนับถึงแค่   '' หมื่น  ''   หลายคนสงสัย  บางคนไหวพริบดีก็จะเดาออก
Q : อ้าว แล้วถ้าหนึ่งแสนล่ะ  ใช้อะไร   
A : 10 หมื่น

Q : หนึ่งล้านล่ะ
A : 100 หมื่น

Q : 10 ล้านล่ะ
A : 1,000 หมื่น

มาดู  ตัวอย่าง  กัน
10,000        いちまん     อิจิมัง       ( หมื่น )
100,000      じゅうまん   จูมัง         ( 10 หมื่น )
1,000,000  ひゃくまん    เฮียคุมัง  ( 100 หมื่น )

เอาล่ะเ่ท่านี้เพื่อนๆก็พูดและเขียน 1 - ล้าน เป็นภาษาญี่ปุ่นได้แล้วนะครับ
เมื่อเราเรียนนับเลข  เราไปเรียน  เรื่อง  เวลา  กันต่อเลยดีกว่าในครั้งหน้า

คำทักทายภาษาญี่ปุ่น / แนะนำตัว

คำทักทายภาษาญี่ปุ่น / แนะนำตัว

     ในบทความนี้จะเกี่ยวกับคำทักทาย เวลาคนญี่ปุ่นเจอกัน , ถามสุขภาพ , แนะนำตัวเอง

คำกล่าวสวัสดีของญี่ปุ่นก็จะมีตามเวลา คือ สวัสดีตอนเช้า ตอนกลางวัน ตอนเย็น  เหมือนของไทยมี อรุณสวัสดิ์  ราตรีสวัสดิ์  ไปดูกันดีกว่า
สวัสดี (ตอนเช้า)
Good morning
おはようございます.
Ohayou Gozaimasu.(โอะฮะโย โกะไซมัส)

ใช้ทักทายได้ตั้งแต่รุ่งเช้า  จนถึง  10  โมงเช้าแต่จะไม่เกิน  11  โมงเช้า  ควรใช้น้ำเสียงที่สดชื่น ชัดเจน  ถ้าเป็นเพื่อน หรือ คนที่สนิท พูดแค่   おはよう  (โอะฮะโย)  ก็ได้ .

ถ้าเห็นคนญี่ปุ่นพูดตอนบ่ายๆ ก็ไม่ต้องแปลกใจเพราะเป็นธรรมเนียมสำหรับคนญี่ปุ่นจะพูดกับคนที่เพิ่งเข้ามาทำงานครั้งแรก หรือ เพิ่งเจอกันครั้งแรก  ไม่ใช้ว่าเค้าใช้ผิดนะ  ^__^


สวัสดี (ตอนกลางวัน)
Good afternoon
こんいちは 
Konnichiwa. (คนนิจิวะ)
เสียงพยางค์สุดท้ายของคำ....เขียนว่า (ha)  แต่ ออกเสียง wa

ใช้ทักทายตอนกลางวัน  10 โมงเกือบ 11 โมงไปจนถึง เย็น ไม่เกิน 6 โมงเย็น  ก่อนพระอาทิตย์ตก

สามารถใช้ได้กับทุกคนเพราะเป็นคำที่สั้นอยู่แล้ว


สวัสดี(ตอนเย็น)
Good evening
こんばんは
konbanwa. (คนบังวะ)
เสียงพยางค์สุดท้ายของคำ....เขียนว่า (ha)  แต่ ออกเสียง wa

ใช้ทักทายตั้งแต่ตอนเย็น  6  โมงเย็น ไปจนถึง  รุ่งเช้า  ก่อน ตี 5 


ราตรีสวัสดิ์ 
Good night 
おやすみなさい 
Oyasuminasai. (โอะยะซุมินะไซ) 
*** ประโยค   การกล่าวทักทาย - ถามสุขภาพ ***

おげんきですか   (โอะเก็งขิเดสก๊ะ)

แปลว่า  สบายดีหรือเปล่า  /  สบายดีมั้ย

ให้เราตอบดังนี้

ถ้าเราสบายดีให้ตอบ    はい , げんきです    ( ไฮ่  เก็งขิเดส )

はい  แปลว่า ใช่ / yes

げんきです    แปลว่า  สบายดี

ถ้าเราไม่สบายให้ตอบ   いいえ  ( อิเอ๊ะ )

いいえ  แปลว่า  ไม่ /  no

*** ประโยคแนะนำตัว *** 

はじめまして   ( ฮะจิเมะมะชิเตะ )

แปลว่า  ยินดีที่ได้รู้จัก

คนญี่ปุ่นจะใช้พูดกัน เวลาพบกันเป็นครั้งแรก

どうぞ よろしく おねがいします  ( โด้โสะ โยะโระชิขุ โอเนะไงชิมัส )

แปลว่า   มีอะไรก็เชิญเลย /  ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วย

ใช้เมื่อแนะนำตัว แสดงความสุภาพด้วยการขอฝากเนื้อฝากตัวด้วย เป็นคำที่จะใช้พูดกับผู้ที่อาวุโสกว่า
ถ้าพูดกับเพื่อน / คนสนิท หรือ ผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าให้ใช้แค่   どうぞ よろし ( โด้โสะ โยะโระชิขุ )
ก็พอ
*** การแนะนำชื่อของเรา *** 

 わたしのなまえは ___ です   ( วะตะชิโนะนะมะเอะวะ___เดสสึ  )

แปลว่า ฉันชื่อ___ครับ/ค่ะ

หรืออาจจะพูดว่า

わたしは___ です   ( วะตะชิวะ__เดสสึ )

แปลว่า ฉันคือ___ครับ/ค่ะ  
บอกว่าเราเป็นคนไทยนะให้ใช้

タイ人です   ( ไทยจินเดสสึ )

แปลว่า ฉันเป็นคนไทย

บอกว่าเราเป็นนักเรียนนะให้ใช้

がくせいです  ( กักเซเดสสึ )

แปลว่า เป็นนักเรียน

*** บทสนทนา *** 

A      :   おはよう ございます。(
ohayoo gozaimasu. โอะฮะโย โกะไซมัส )             
            อรุณสวัสดิ์ครับ / ค่ะ

C      : おはよう ございます。  (
ohayoo gozaimasu. โอะฮะยะ โกะไซมัส )               
            อรุณสวัสดิ์ครับ

        A  さん、こちらは B  さんです。(
A, kochira wa B desu. เอซัง โคะจิระ วะ บี เดส)   
            คุณ A นี่คือคุณ B ครับ.

B    :    はじめまして。     (
 hachimemashite. ฮะจิเมะมะชิเตะ )                         
             ยินดีที่ได้รู้จักครับ.

      B です。      (
B desu. บีเดส )               
             ผม B

             
タイ から きました。 (tai kara kimashita. ไท คะระ คิมะชิตะ )       
             ผมมาจากประเทศไทย

    どうぞ よろしく。      ( 
doozo yoroshiku. โดโซะ โยโระชิขุ )                   
             ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ                             
A     : さとう けいこです。       (A  desu. เอเดส )                 
              ผม A

     どうぞ よろしく。   (
doozo yoroshiku. โดโซะ โยโระชิขุ )                       
              ขอฝากเนื้อฝากตัวเช่นกันครับ / ค่ะ

*** คำศัพท์เพิ่มเติม *** 
หมอ, แพทย์        
いしゃ  อิ-ชะ
วิศวกร                
エンジニア  เอน-จิ-นี-อา
ทหาร                  
ぐんじん  กุง-จิน 
ตำรวจ                 
けいさつかん  เค-ซัส-คัง
ข้าราชการ           
こうむいん  โค-มุ-อิ
พนักงานบริษัท         
かいしゃいん  คา-อิ-ชะ-อิน
นักเรียน  
がくせい  กัก-เซ 
นักศึกษา  
だいがくせい  ได-อิ-กัก-เซ 

มาทำความรู้จัก กับตัวอักษรญี่ปุ่นกันเถอะ!!

การจะเรียนภาษาญี่ปุ่นนั้น  เรื่องแรกที่คิดว่าสำคัญในการจะเรียนภาษาที่มีระบบการฟังพูดอ่านเขียนแตกต่างกับภาษาไทยมาก  เห็นทีจะต้องเรียนที่ตัวอักษรกันก่อน(ไม่นับการฟังพูดนะ!!)  เพราะหนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นส่วนมากใช้อักษรญี่ปุ่นเขียนทั้งนั้น
เอาล่ะ  เริ่มกันโลด ~
ตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นมี 3 ชนิด 
  1. ฮิรางานะ (Hiragana)
          ประกอบด้วยตัวอักษร 46 ตัว  มีเสียงอ่านในตัวเอง
          ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการแทนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยภาษาอังกฤษ (โรมาจิ) และเมื่อเริ่มคุ้นเคยแล้ว ก็จะเริ่มจำฮิรางานะ คาตาคานะ และคันจิ ต่อไปตามลำดับ

     
  2. คาตาคานะ (Katakana)
          ประกอบด้วยตัวอักษร 46 ตัว เหมือนกับฮิรางานะ และอ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่การเขียนต่างกัน
          คาตาคานะมักจะใช้แทนคำที่ทับศัพท์มากจากภาษาต่างชาติ เช่น テ(te) レ(re) ビ(bi) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น テレビ(terebi) ซึ่งเป็นการทับศัพท์และย่อให้กระชับจากคำว่าโทรทัศน์ (televison) เป็นต้น

     
  3. คันจิ (Kanji)
          เป็นตัวอักษรจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้ดัดแปลงบางส่วนให้กระชับขึ้น มีทั้งสิ้นประมาณ 5,000 ตัว แต่ที่ใช้โดยทั่วไปมีประมาณ 1,800 ตัว แต่ละตัวจะมีความหมายและวิธีอ่านออกเสียงเป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ ผู้ที่เริ่มศึกษาใหม่อาจจะตั้งเป้าหมายว่าจะจำตัวคันจิเบื้องต้นประมาณ 50-100 ตัว

    นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดมาตรฐานการเขียนคำอ่านภาษาญี่ปุ่น ด้วยภาษาอังกฤษอีก 1 ชนิด คือ โรมาจิ ดังนี้

     
  4. โรมาจิ (Romaji)
          เป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้แทนการเขียนอ่านด้วยภาษาญี่ปุ่น มีหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน จึงมีความสะดวกต่อชาวต่างชาติในการฝึกเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยการเขียนและอ่าน
 ฮิรางานะ(หรือฮิรากานะ)ひらがな เป็นตัวอักษรสำหรับแสดงภาษาญี่ปุ่น ประกอบด้วยอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว โดยแต่ละตัวจะมีเสียงเฉพาะตัว เมื่อนำฮิรางานะมาเรียงต่อกันเป็นคำ ก็จะออกเสียงตามตัวอักษรนั้นๆ เช่น に(ni) + ほ(ho) + ん(n) -- > にほん(nihon)  ฮิรากานะ(เราถนัดเรียกแบบนี้)มี 5 เสียง คือ อะ อิ อุ เอะ โอะ [a i u e o]  8 แถว คือ a ka sa ta na ha ma ya ra wa [ดูชาร์ทประกอบ]
Note:
*を เป็นคำช่วย อ่านออกเสียง "โอ๊ะ" แต่เวลาฟังเพลงส่วนใหญ่จะออกเสียง "โว๊ะ
**ん เป็นตัวสะกด อ่านออกเสียง"อึน" หรือ "อึง
***は ปกติอ่านออกเสียง "ฮะ" แต่เมื่อใช้เป็นคำช่วย ต้องอ่านออกเสียง "วะ
****へ ปกติอ่านออกเสียง "เฮะ" แต่เมื่อใช้เป็นคำช่วย ต้องอ่านออกเสียง "เอ๊ะ
          เสียงขุ่น (dakuon)  เป็นการเปลี่ยนเสียงโดยการเติมสัญญลักษณ์  เรียกว่า (dakuten) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการตามรูปทรงของสัญลักษณ์ว่า tenten ตามหลังอักษรในแถว 「か」「さ」「た」「は」
          หรือโดยวิธีเติมสัญญักษณ์   (handakuten) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า maru ตามหลังอักษรในแถว 「は」 เพื่อให้เกิดเสียงที่เปลี่ยนไปจากเดิม

          เสียงควบ (youon)
          คือการนำอักษรที่ออกเสียง 'i' เช่น き, し, ち, ..... มาผสมกับอักษรในแถว ya คือ や, ゆ, よ ที่แปลงรูปอักษรให้ตัวเล็กลงเป็น ゃ, ゅ, ょ เพื่อให้เกิดการออกเสียงควบกล้ำกันระหว่างสระ 2 ชนิด (เช่น i+a, i+u, i+o)


Note:
*แถวเสียงนี้ เวลาอยู่หน้าอยู่พยางค์หน้าออกเสียง "กง่ะ" แต่ถ้าอยู่พยางค์หลังจะอ่านออกเสียง "หง่ะ" ซึ่งจะออกเสียงขุ่นกว่า
**แถวเสียง "ซะ" เวลาออกเสียง ให้เอาปลายลิ้นไปแตะฟันหน้าแล้วออกเสียงให้มีลมลอดออกมา (เสียงที่ได้จะขุ่น)
และยังมีแถวเสียงที่ผสมขึ้นมา โดยการนำแถวเสียง "ยะ" มาใส่ไว้ด้านหลังค่ะ โดยแถวเสียง "ยะ" ที่นำมาต่อท้ายต้องเขียนด้วยตัวอักษรตัวเล็ก

ตารางเสียงอ่านฮิรากานะ

เสียง อะเสียง อิเสียง อุเสียง เอะเสียง โอะ
แถว あ
aiueo
แถว か
kakikukeko
แถว さ
sashisuseso
แถว た
tachitsuteto
แถว な
naninuneno
แถว は
hahifuheho
แถว ま
mamimumemo
แถว や
yayuyo
แถว ら
rarirurero
แถว わ
wao
n

เสียงขุ่น 

เสียง อะเสียง อิเสียง อุเสียง เอะเสียง โอะ
แถว か
gagigugego
แถว さ
zajizuzezo
แถว た
dajitzudedo
แถว は
babibubebo
แถว は
papipupepo

เสียงควบ

        
 き きゃきゅきょ
kyakyukyo
ぎゃぎゅぎょ
gyagyugyo
しゃしゅしょ
shashusho
じゃじゅじょ
jajujo
ちゃちゅちょ
chachucho
ぢゃぢゅぢょ
jajujo
ひゃひゅひょ
hyahyuhyo
びゃびゅびょ
byabyubyo
ぴゃぴゅぴょ
pyapyupyo


にゃ
nya
เนี๊ยะ
にゅ
nyu
นิ๊ว
にょ
nyo
เนี๊ยว
ひゃ
hya
เฮี๊ยะ
ひゅ
hyu
ฮิ๊ว
ひょ
hyo
เฮี๊ยว
みゃ
mya
เมี๊ยะ
みゅ
myu
มิ๊ว
みょ
myo
เมี๊ยว
りゃ
rya
เรี๊ยะ
りゅ
ryu
ริ๊ว
りょ
ryo
เรี๊ยว

Tips:
สำหรับคนไทยเสียงผสมค่อนข้างออกเสียงยาก สำหรับเสียง "เอียะ" คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ที่ยากคือแถวเสียงที่เหลือ ยกตัวอย่างเช่น "คยึ" หรือ "คโยะ" คนไทยจะออกเสียงว่า "คิว" หรือ "เคียว" ไปเลย จะว่าออกเสียงผิดไหม ก็ไม่น่าจะผิดอะไร เพราะมันก็เหมือนกับการออกเสียงโดยอาศัยการควบของจังหวะเสียงเร็ว ๆ แต่พึงระวังเอาไว้ว่า เสียงนี้เป็นเสียงสั้น ถ้าเป็นเสียงยาวจะต้องมี "อุ" ต่อท้าย เช่น きょう (Kyou=เคียว) หรือ りゅう (Ryuu=ริว) ดังนั้น หากจะลักไก่อ่านออกเสียงเป็น "คิว" หรือ "เคียว" ฯลฯ อย่าออกเสียงลากยาวนะ ให้สะบัดเสียงให้สั้นลงจะได้ถูกต้อง
คาตาคานะ カタカナ เป็นตัวอักษรที่ดัดแปลงจากตัวอักษรคันจิ แต่นำมาเพียงแค่เส้นบางส่วนเท่านั้น(มันเลยเป็นเหลี่ยมๆ ตรงๆ ไม่เหมือนฮิรากานะ)  คาตาคานะประกอบด้วยอักษร 46 ตัว เหมือนฮิรากานะ  รวมถึงมีวิธีอ่านเหมือนกันทุกประการ(เปลี่ยนไปแค่รูปการเขียน)  คาตาคานะมักจะใช้เป็นอักษรที่แสดงคำทับศัพท์ที่จากภาษาต่างประเทศ  ซึ่งคำศัพท์ดังกล่าวจะปรากฎในชีวิตประจำวันบ่อยๆ เช่น คอมพิวเตอร์ วิทยุ โทรศัพท์ กล้อง ฟิล์ม ฯลฯ ตลอดจนชื่อประเทศ ชื่อเมือง และชื่อคนต่างชาติ เป็นต้น[ดูศัพท์จากชาร์ทประกอบ]
Note:
* และ ** ดูจากตารางฮิระงะนะประกอบ
***อักษรที่คล้ายกัน ต้องระวังด้วยนะ จุดสังเกตง่าย ๆ ก็คือ
シ "ชิ" ขีดด้านข้าง จะลากเข้าหาด้านข้าง เส้นด้านล่างลากขึ้น
ツ "ทซึ" ขีดด้านข้าง จะลากลงด้านล่างแต่มีแค่ขีดเดียว เส้นด้านล่างลากลง
ソ "โสะ" ขีดด้านข้าง จะลากลงด้านล่าง เส้นด้านล่างลากลง
ン "อึน" ขีดด้านข้าง จะลากเข้าหาด้านข้างแต่มีแค่ขีดเดียว เส้นด้านล่างลากขึ้น
ノ "โนะ" ลากลงมาขีดเดียวโดด ๆ เลย

ชาร์ทเสียงขุ่นและเสียงควบ


ตารางเสียงอ่านคาตาคานะ
เสียง อะเสียง อิเสียง อุเสียง เอะเสียง โอะ
แถว ア
aiueo
แถว カ
kakikukeko
แถว サ
sashisuseso
แถว タ
tachitsuteto
แถว ナ
naninuneno
แถว ハ
hahifuheho
แถว マ
mamimumemo
แถว ヤ
yayuyo
แถว ラ
rarirurero
แถว ワ
wao
n
ote:
* และ ** ดูจากตารางฮิระงะนะประกอบ
และตัวอักษรคะตะคะนะก็มีการนำแถวเสียง "ยะ" ตัวเล็ก มาทำเป็นเสียงผสมเหมือนกับฮิระงะนะได้เช่นเดียวกัน ตามนี้เลย
キャ
KYA
シャ
SHA
チャ
CHA
ニャ
NYA
ヒャ
HYA
ミャ
MYA
リャ
RYA
ギャ
GYA
ジャ
JA
ビャ
BYA
ピャ
PYA
キュ
KYU
シュ
SHU
チュ
CHU
ニュ
NYU
ヒュ
HYU
ミュ
MYU
リュ
RYU
ギュ
GYU
ジュ
JU
ビュ
BYU
ピュ
PYU
キョ
KYO
ショ
SHO
チョ
CHO
ニョ
NYO
ヒョ
HYO
ミョ
MYO
リョ
RYO
ギョ
GYO
ジョ
JO
ビョ
BYO
ピョ
PYO
 นอกจากแถวเสียงที่ผสมขึ้นมา โดยใช้แถวเสียง "ยะ" ตัวเล็กมาต่อท้ายแล้ว ตัวอักษรคะตะคะนะจะมีแถวเสียงผสมที่ใช้แถวเสียงอื่น ๆ ตัวเล็กเพิ่มเติมขึ้นมาด้วย ดังนี้
ヴァ
VA
クァ
KWA
ツァ
TSA
ファ
FA
ウィ
WI
ヴィ
VI
ティ
TI
ディ
DI
フィ
FI

VU
デュ
DU
ウェ
WE
ヴェ
VE
ツェ
TSE
フェ
FE
ウォ
WO
ヴォ
VO
ツォ
TSO
フォ
FO
Tips:
ถ้าต้องการให้ออกเสียงยาว ให้ใช้ 『ー』 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงยาวในภาษาญี่ปุ่นค่ะ เช่น คำว่า "Fram=กรอบ" หรือ "Flame=เปลวไฟ" ก็จะเป็น フレーム 
ขอให้สนุกกับการเรียนภาษาญี่ปุ่น มาพยายามไปด้วยกันนะครับ