24.6.58

มาทำความรู้จัก กับตัวอักษรญี่ปุ่นกันเถอะ!!

การจะเรียนภาษาญี่ปุ่นนั้น  เรื่องแรกที่คิดว่าสำคัญในการจะเรียนภาษาที่มีระบบการฟังพูดอ่านเขียนแตกต่างกับภาษาไทยมาก  เห็นทีจะต้องเรียนที่ตัวอักษรกันก่อน(ไม่นับการฟังพูดนะ!!)  เพราะหนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นส่วนมากใช้อักษรญี่ปุ่นเขียนทั้งนั้น
เอาล่ะ  เริ่มกันโลด ~
ตัวอักษรในภาษาญี่ปุ่นมี 3 ชนิด 
  1. ฮิรางานะ (Hiragana)
          ประกอบด้วยตัวอักษร 46 ตัว  มีเสียงอ่านในตัวเอง
          ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการแทนตัวอักษรญี่ปุ่นด้วยภาษาอังกฤษ (โรมาจิ) และเมื่อเริ่มคุ้นเคยแล้ว ก็จะเริ่มจำฮิรางานะ คาตาคานะ และคันจิ ต่อไปตามลำดับ

     
  2. คาตาคานะ (Katakana)
          ประกอบด้วยตัวอักษร 46 ตัว เหมือนกับฮิรางานะ และอ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่การเขียนต่างกัน
          คาตาคานะมักจะใช้แทนคำที่ทับศัพท์มากจากภาษาต่างชาติ เช่น テ(te) レ(re) ビ(bi) ซึ่งเมื่อเขียนต่อกันก็จะได้เป็น テレビ(terebi) ซึ่งเป็นการทับศัพท์และย่อให้กระชับจากคำว่าโทรทัศน์ (televison) เป็นต้น

     
  3. คันจิ (Kanji)
          เป็นตัวอักษรจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้ดัดแปลงบางส่วนให้กระชับขึ้น มีทั้งสิ้นประมาณ 5,000 ตัว แต่ที่ใช้โดยทั่วไปมีประมาณ 1,800 ตัว แต่ละตัวจะมีความหมายและวิธีอ่านออกเสียงเป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ ผู้ที่เริ่มศึกษาใหม่อาจจะตั้งเป้าหมายว่าจะจำตัวคันจิเบื้องต้นประมาณ 50-100 ตัว

    นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดมาตรฐานการเขียนคำอ่านภาษาญี่ปุ่น ด้วยภาษาอังกฤษอีก 1 ชนิด คือ โรมาจิ ดังนี้

     
  4. โรมาจิ (Romaji)
          เป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้แทนการเขียนอ่านด้วยภาษาญี่ปุ่น มีหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน จึงมีความสะดวกต่อชาวต่างชาติในการฝึกเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยการเขียนและอ่าน
 ฮิรางานะ(หรือฮิรากานะ)ひらがな เป็นตัวอักษรสำหรับแสดงภาษาญี่ปุ่น ประกอบด้วยอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว โดยแต่ละตัวจะมีเสียงเฉพาะตัว เมื่อนำฮิรางานะมาเรียงต่อกันเป็นคำ ก็จะออกเสียงตามตัวอักษรนั้นๆ เช่น に(ni) + ほ(ho) + ん(n) -- > にほん(nihon)  ฮิรากานะ(เราถนัดเรียกแบบนี้)มี 5 เสียง คือ อะ อิ อุ เอะ โอะ [a i u e o]  8 แถว คือ a ka sa ta na ha ma ya ra wa [ดูชาร์ทประกอบ]
Note:
*を เป็นคำช่วย อ่านออกเสียง "โอ๊ะ" แต่เวลาฟังเพลงส่วนใหญ่จะออกเสียง "โว๊ะ
**ん เป็นตัวสะกด อ่านออกเสียง"อึน" หรือ "อึง
***は ปกติอ่านออกเสียง "ฮะ" แต่เมื่อใช้เป็นคำช่วย ต้องอ่านออกเสียง "วะ
****へ ปกติอ่านออกเสียง "เฮะ" แต่เมื่อใช้เป็นคำช่วย ต้องอ่านออกเสียง "เอ๊ะ
          เสียงขุ่น (dakuon)  เป็นการเปลี่ยนเสียงโดยการเติมสัญญลักษณ์  เรียกว่า (dakuten) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการตามรูปทรงของสัญลักษณ์ว่า tenten ตามหลังอักษรในแถว 「か」「さ」「た」「は」
          หรือโดยวิธีเติมสัญญักษณ์   (handakuten) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า maru ตามหลังอักษรในแถว 「は」 เพื่อให้เกิดเสียงที่เปลี่ยนไปจากเดิม

          เสียงควบ (youon)
          คือการนำอักษรที่ออกเสียง 'i' เช่น き, し, ち, ..... มาผสมกับอักษรในแถว ya คือ や, ゆ, よ ที่แปลงรูปอักษรให้ตัวเล็กลงเป็น ゃ, ゅ, ょ เพื่อให้เกิดการออกเสียงควบกล้ำกันระหว่างสระ 2 ชนิด (เช่น i+a, i+u, i+o)


Note:
*แถวเสียงนี้ เวลาอยู่หน้าอยู่พยางค์หน้าออกเสียง "กง่ะ" แต่ถ้าอยู่พยางค์หลังจะอ่านออกเสียง "หง่ะ" ซึ่งจะออกเสียงขุ่นกว่า
**แถวเสียง "ซะ" เวลาออกเสียง ให้เอาปลายลิ้นไปแตะฟันหน้าแล้วออกเสียงให้มีลมลอดออกมา (เสียงที่ได้จะขุ่น)
และยังมีแถวเสียงที่ผสมขึ้นมา โดยการนำแถวเสียง "ยะ" มาใส่ไว้ด้านหลังค่ะ โดยแถวเสียง "ยะ" ที่นำมาต่อท้ายต้องเขียนด้วยตัวอักษรตัวเล็ก

ตารางเสียงอ่านฮิรากานะ

เสียง อะเสียง อิเสียง อุเสียง เอะเสียง โอะ
แถว あ
aiueo
แถว か
kakikukeko
แถว さ
sashisuseso
แถว た
tachitsuteto
แถว な
naninuneno
แถว は
hahifuheho
แถว ま
mamimumemo
แถว や
yayuyo
แถว ら
rarirurero
แถว わ
wao
n

เสียงขุ่น 

เสียง อะเสียง อิเสียง อุเสียง เอะเสียง โอะ
แถว か
gagigugego
แถว さ
zajizuzezo
แถว た
dajitzudedo
แถว は
babibubebo
แถว は
papipupepo

เสียงควบ

        
 き きゃきゅきょ
kyakyukyo
ぎゃぎゅぎょ
gyagyugyo
しゃしゅしょ
shashusho
じゃじゅじょ
jajujo
ちゃちゅちょ
chachucho
ぢゃぢゅぢょ
jajujo
ひゃひゅひょ
hyahyuhyo
びゃびゅびょ
byabyubyo
ぴゃぴゅぴょ
pyapyupyo


にゃ
nya
เนี๊ยะ
にゅ
nyu
นิ๊ว
にょ
nyo
เนี๊ยว
ひゃ
hya
เฮี๊ยะ
ひゅ
hyu
ฮิ๊ว
ひょ
hyo
เฮี๊ยว
みゃ
mya
เมี๊ยะ
みゅ
myu
มิ๊ว
みょ
myo
เมี๊ยว
りゃ
rya
เรี๊ยะ
りゅ
ryu
ริ๊ว
りょ
ryo
เรี๊ยว

Tips:
สำหรับคนไทยเสียงผสมค่อนข้างออกเสียงยาก สำหรับเสียง "เอียะ" คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ที่ยากคือแถวเสียงที่เหลือ ยกตัวอย่างเช่น "คยึ" หรือ "คโยะ" คนไทยจะออกเสียงว่า "คิว" หรือ "เคียว" ไปเลย จะว่าออกเสียงผิดไหม ก็ไม่น่าจะผิดอะไร เพราะมันก็เหมือนกับการออกเสียงโดยอาศัยการควบของจังหวะเสียงเร็ว ๆ แต่พึงระวังเอาไว้ว่า เสียงนี้เป็นเสียงสั้น ถ้าเป็นเสียงยาวจะต้องมี "อุ" ต่อท้าย เช่น きょう (Kyou=เคียว) หรือ りゅう (Ryuu=ริว) ดังนั้น หากจะลักไก่อ่านออกเสียงเป็น "คิว" หรือ "เคียว" ฯลฯ อย่าออกเสียงลากยาวนะ ให้สะบัดเสียงให้สั้นลงจะได้ถูกต้อง
คาตาคานะ カタカナ เป็นตัวอักษรที่ดัดแปลงจากตัวอักษรคันจิ แต่นำมาเพียงแค่เส้นบางส่วนเท่านั้น(มันเลยเป็นเหลี่ยมๆ ตรงๆ ไม่เหมือนฮิรากานะ)  คาตาคานะประกอบด้วยอักษร 46 ตัว เหมือนฮิรากานะ  รวมถึงมีวิธีอ่านเหมือนกันทุกประการ(เปลี่ยนไปแค่รูปการเขียน)  คาตาคานะมักจะใช้เป็นอักษรที่แสดงคำทับศัพท์ที่จากภาษาต่างประเทศ  ซึ่งคำศัพท์ดังกล่าวจะปรากฎในชีวิตประจำวันบ่อยๆ เช่น คอมพิวเตอร์ วิทยุ โทรศัพท์ กล้อง ฟิล์ม ฯลฯ ตลอดจนชื่อประเทศ ชื่อเมือง และชื่อคนต่างชาติ เป็นต้น[ดูศัพท์จากชาร์ทประกอบ]
Note:
* และ ** ดูจากตารางฮิระงะนะประกอบ
***อักษรที่คล้ายกัน ต้องระวังด้วยนะ จุดสังเกตง่าย ๆ ก็คือ
シ "ชิ" ขีดด้านข้าง จะลากเข้าหาด้านข้าง เส้นด้านล่างลากขึ้น
ツ "ทซึ" ขีดด้านข้าง จะลากลงด้านล่างแต่มีแค่ขีดเดียว เส้นด้านล่างลากลง
ソ "โสะ" ขีดด้านข้าง จะลากลงด้านล่าง เส้นด้านล่างลากลง
ン "อึน" ขีดด้านข้าง จะลากเข้าหาด้านข้างแต่มีแค่ขีดเดียว เส้นด้านล่างลากขึ้น
ノ "โนะ" ลากลงมาขีดเดียวโดด ๆ เลย

ชาร์ทเสียงขุ่นและเสียงควบ


ตารางเสียงอ่านคาตาคานะ
เสียง อะเสียง อิเสียง อุเสียง เอะเสียง โอะ
แถว ア
aiueo
แถว カ
kakikukeko
แถว サ
sashisuseso
แถว タ
tachitsuteto
แถว ナ
naninuneno
แถว ハ
hahifuheho
แถว マ
mamimumemo
แถว ヤ
yayuyo
แถว ラ
rarirurero
แถว ワ
wao
n
ote:
* และ ** ดูจากตารางฮิระงะนะประกอบ
และตัวอักษรคะตะคะนะก็มีการนำแถวเสียง "ยะ" ตัวเล็ก มาทำเป็นเสียงผสมเหมือนกับฮิระงะนะได้เช่นเดียวกัน ตามนี้เลย
キャ
KYA
シャ
SHA
チャ
CHA
ニャ
NYA
ヒャ
HYA
ミャ
MYA
リャ
RYA
ギャ
GYA
ジャ
JA
ビャ
BYA
ピャ
PYA
キュ
KYU
シュ
SHU
チュ
CHU
ニュ
NYU
ヒュ
HYU
ミュ
MYU
リュ
RYU
ギュ
GYU
ジュ
JU
ビュ
BYU
ピュ
PYU
キョ
KYO
ショ
SHO
チョ
CHO
ニョ
NYO
ヒョ
HYO
ミョ
MYO
リョ
RYO
ギョ
GYO
ジョ
JO
ビョ
BYO
ピョ
PYO
 นอกจากแถวเสียงที่ผสมขึ้นมา โดยใช้แถวเสียง "ยะ" ตัวเล็กมาต่อท้ายแล้ว ตัวอักษรคะตะคะนะจะมีแถวเสียงผสมที่ใช้แถวเสียงอื่น ๆ ตัวเล็กเพิ่มเติมขึ้นมาด้วย ดังนี้
ヴァ
VA
クァ
KWA
ツァ
TSA
ファ
FA
ウィ
WI
ヴィ
VI
ティ
TI
ディ
DI
フィ
FI

VU
デュ
DU
ウェ
WE
ヴェ
VE
ツェ
TSE
フェ
FE
ウォ
WO
ヴォ
VO
ツォ
TSO
フォ
FO
Tips:
ถ้าต้องการให้ออกเสียงยาว ให้ใช้ 『ー』 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงยาวในภาษาญี่ปุ่นค่ะ เช่น คำว่า "Fram=กรอบ" หรือ "Flame=เปลวไฟ" ก็จะเป็น フレーム 
ขอให้สนุกกับการเรียนภาษาญี่ปุ่น มาพยายามไปด้วยกันนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น