3.7.58

การเขียนคำทับศัพท์ตามโรมะจิ(ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้แทนเสียงภาษาญี่ปุ่น)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้านี้อธิบายการเขียนคำทับศัพท์ตามโรมะจิ (ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้แทนเสียงภาษาญี่ปุ่น) โดยโรมะจิในปัจจุบันมีอยู่ 3 ระบบในการเขียนได้แก่ นิฮนชิกิ (日本式) แบบดั้งเดิม, คุนเรชิกิ (訓令式) แบบที่ดัดแปลงจากนิฮงชิกิ และ เฮ็ปเบิร์น (เฮะบนชิกิ, ヘボン式) แบบปรับปรุงพัฒนาตามการออกเสียงจริง ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน
1 ระบบโรมะจิ
  • 2 วิธีการถอดเสียงภาษาไทยจากโรมะจิ
    • 2.1 การแยกพยางค์
    • 2.2 ตารางเทียบเสียงสระภาษาญี่ปุ่น
    • 2.3 ตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่น
      • 2.3.1 สำหรับ n ที่เป็นตัวสะกด
  • 3 ข้อยกเว้น

ระบบโรมะจิ

ความหมายคันจิ/คะนะฟุริงะนะโรมะจิ
เฮปเบิร์นคุนเรชิกินิฮงชิกิ
โรมะจิローマ字ローマじrōmajirômazirōmazi
ภูเขาฟูจิ富士山ふじさんFujisanHuzisanHuzisan
ชาお茶おちゃochaotyaotya
รัฐบาล知事ちじchijitizitizi
ย่อขนาด縮むちぢむchijimutizimutidimu
(ตอน) ต่อไป続くつづくtsuzukutuzukutuduku
เสียงตามระบบเฮ็ปเบิร์นเป็นเสียงที่ใกล้เคียงกับการออกเสียงภาษาอังกฤษมากที่สุด โดยในปัจจุบันมีการใช้กันมากที่สุด สำหรับในหนังสือหรือแหล่งอ้างอิงในบางแหล่งอาจจะมีการใช้โรมะจิแบบเก่า ซึ่งเมื่อถอดเสียงต่อมาเป็นภาษาไทย จะทำให้เกิดเสียงเพี้ยนได้ ซึ่งการถอดเสียงภาษาไทย ควรจะอ้างอิงจากตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นเอง เช่นคำว่า ภูเขาฟูจิ ในตารางด้านบน รูปแบบของเฮ็ปเบิร์นจะใช้ตัวอย่าง ā แทน aa และō แทน oo

วิธีการถอดเสียงภาษาไทยจากโรมะจิ

การแยกพยางค์

แยกพยางค์ก่อน เพราะคำในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วย สระ และ/หรือพยางค์ต้น โดยไม่มีพยางค์ท้ายทุกคำเหมือนภาษาไทยยกเว้น ตัว ん (ออกเสียง ง,น,ม) โดยสระที่อยู่ติดแยกคำอ่าน ยกเว้น aa, ei, ou ถือเป็นพยางค์เดียว
  • chijimu แยก chi-ji-mu อ่าน ชิจิมุ
  • aoi แยก a-o-i อ่าน อะโอะอิ
  • nihongo แยก ni-hon-go อ่าน นิฮงโงะ
  • tōri แยก tō-ri อ่าน โทริ
  • fujieda แยก fu-ji-e-da อ่าน ฟุจิเอะดะ
  • sensei แยก sen-sei อ่าน เซ็นเซ
  • sai, kai, rai, tai หากเขียนด้วยอักษรคะนะและอยู่ในคำเดียวกันมักอ่านร่วมเป็นพยางค์เดียว แต่หากมาจากคันจิคนละตัวมักอ่านแยกสองพยางค์
    • 堺市 เป็นชื่อเมืองในจังหวัดโอซะกะ คันจิ 堺 ออกเสียง さかい (ซะไก) ส่วน 市 ออกเสียง し (ชิ) กรณีนี้จึงอ่านรวม kai เป็นพยางค์เดียว 
    • 坂井 เป็นนามสกุล คันจิ 坂 ออกเสียง さか (ซะกะ) ส่วนคันจิ 井 ออกเสียง い (อิ) กรณีนี้จึงอ่านแยกว่า ซะกะอิ เช่นเดียวกับ 中井 อ่านว่า นะกะอิ
    • 侍 ออกเสียง さむらい (ซะมุไร) เนื่องจากเป็นคันจิตัวเดียวจึงอ่านออกเสียงรวม rai เป็นพยางค์เดียว 
    • イタイイタイ ออกเสียง イタイイタイ (อิไตอิไต) เนื่องจากเป็นเสียงโอดโอย เขียนด้วยคะตะกะนะ จึงอ่าน tai รวมเป็นพยางค์เดียว 

ตารางเทียบเสียงสระภาษาญี่ปุ่น

โรมะจิอักษรญี่ปุ่นการทับศัพท์ตัวอย่างหมายเหตุ
aอะ, –ัyama = ยะมะ, sakura = ซะกุระ, gakkoo = กักโก, san = ซัง
aa, āああอาokāsan = โอะกาซัง, obāsan = โอะบาซัง
eเอะ, เ–็ike = อิเกะ, fune = ฟุเนะ, denwa = เด็งวะ, sensei = เซ็นเซ
ee, ē, eiええ, えいเอsensei = เซ็นเซ, onēsan = โอะเนซัง
iอิkin = คิง, kaki = คะกิ, hashi = ฮะชิ
ii, īいいอีoniisan, = โอะนีซัง, oishii, = โอะอิชี
oโอะ, โอะลดรูปocha = โอะชะ, kome = โคะเมะ, Nippon = นิปปง, konnichiwa = คนนิชิวะ
oo, ō, ouおう, おおโอotōsan = โอะโตซัง, sayōnara = ซะโยนะระ
uอุshinbun = ชิมบุง, isu = อิซุ, Suzuki = ซุซุกิ
uu, ūううอูjūyō = จูโย, jūsho = จูโชะ
yaเอียะkyaku = เคียะกุ, hyaku = เฮียะกุ*
yaa, yāゃあเอียnn = เนียเนีย*
yoเอียวryokō = เรียวโก*
yoo, yōょう, ょおเอียวbin = เบียวอิง, ryōri = เรียวริ*
yuอิวkyu = คิว*
yuu, yūゅうอีวkkō = คีวโก*
* "y" เป็นเสียงกึ่งสระเมื่อตามหลังพยัญชนะจึงกำหนดให้เป็นเสียงสระเพื่อความสะดวกในการออกเสียง

ตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่น

โรมะจิอักษรญี่ปุ่นการทับศัพท์ตัวอย่างหมายเหตุ
bば び ぶ べ ぼobi = โอะบิ
konbanwa = คมบังวะ
chち (+ゃ ゅ ょ)chiisai = ชีซะอิ
konnichiwa = คนนิชิวะ
chi ในบางแห่งอาจเขียนเป็น ti โดยออกเสียงเหมือน chi
dだ で どdenwa = เด็งวะ
Yamada = ยะมะดะ
fFujisan = ฟุจิซัง
fune = ฟุเนะ
gが ぎ ぐ げ ごก (พยางค์แรก)ginkō = กิงโก
ง (พยางค์อื่น)arigatō = อะริงะโต
hは ひ へ ほhashi = ฮะชิ
jじ ぢ (+ゃ ゅ ょ)kaji = คะจิ
kか き く け こค (พยางค์แรก)kao = คะโอะ
ก (พยางค์อื่น)niku = นิกุ
-kkっ (+か き く け こ)กกgakkō = กักโก
mま み む め もmado = มะโดะ
nな に ぬ ね のNagoya = นะโงะยะ
-nง, น, ม
pぱ ぴ ぷ ぺ ぽพ (พยางค์แรก)pen = เพ็ง
ป (พยางค์อื่น)tenpura = เท็มปุระ
-ppっ (+ぱ ぴ ぷ ぺ ぽ)ปปNippon = นิปปง
rら り る れ ろringo = ริงโงะ
sさ す せ そsakana = ซะกะนะ
shし (+ゃ ゅ ょ)sashimi = ซะชิมิshi ในบางแห่งอาจจะเขียนเป็น si โดยออกเสียงเหมือน shi
-ssっ (+さ す せ そ)สซkissaten = คิสซะเต็ง
-sshっ (+ し (+ゃ ゅ ょ))สชzasshi = ซัสชิ
tた て とท (พยางค์แรก)te = เทะ
ต (พยางค์อื่น)migite = มิงิเตะ
-tchっ (+ち (+ゃ ゅ ょ))ตชitchi = อิตชิ
tsuสึtsukue = สึกุเอะ
-ttっ (+た て と)ตตkomitto = โคะมิตโตะ
-ttsuっつตสึmittsu = มิตสึ
wわ はwatashi = วะตะชิは สำหรับคำเชื่อมประโยคหรือท้ายประโยค ออกเสียง วะ นอกนั้นออกเสียง ฮะ
yや ゆ よyama = ยะมะ
zざ ず ぜ ぞ づmizu = มิซุ

สำหรับ n ที่เป็นตัวสะกด

n เมื่อเป็นตัวสะกดจะออกเสียงได้หลายอย่าง จึงกำหนดไว้ดังนี้
  1. เมื่อตามด้วยพยัญชนะ b m และ p ให้ถอดเป็น  เช่น
    • shinbun = ชิมบุง
    • sanmai = ซัมไม
    • enpitsu = เอ็มปิสึ
  2. เมื่อตามด้วยพยัญชนะ g h k และ w ให้ถอดเป็น  เช่น
    • ringo = ริงโงะ
    • ginkō = กิงโก
    • denwa = เด็งวะ
  3. เมื่ออยู่ท้ายสุดของคำ ให้ถอดเป็น  เช่น
    • hon = ฮง
    • san = ซัง
  4. ในกรณีอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ 1, 2 และ 3 ให้ถอดเป็น  เช่น
    • gunjin = กุนจิง
    • hontō = ฮนโต
    • undō = อุนโด
    • chichimenchō= ชิชิเม็นโช
    • densha = เด็นชะ
    • onna = อนนะ
    • kanri = คันริ
    • dansei = ดันเซ

ข้อยกเว้น

  • วิสามายนาม วิสามายนามในภาษาญี่ปุ่น เมื่อเจ้าตัว, เจ้าของ, ตัวแทนอย่างเป็นทางการ, ผู้ทรงลิขสิทธิ์ หรือองค์กรในภูมิภาคกำหนดหรือใช้อย่างเป็นทางการในประเทศไทยเช่นไร ก็ควรใช้เช่นนั้น แม้ไม่ต้องตามวิธีทับศัพท์นี้ เช่น ชื่อบุคคล, ตัวละคร, บริษัท, ห้างร้าน, หน่วยงาน, สิ่งประดิษฐ์, วรรณกรรม, สิ่งบันเทิง, กีฬา ฯลฯ เป็นต้นว่า
    • 三菱 (Mitsubishi, ตามหลักต้องว่า "มิสึบิชิ") แต่มีชื่ออย่างเป็นทางการ (ชื่อบริษัทยานยนต์) ในประเทศไทยว่า "มิตซูบิชิ" ก็ให้ใช้อย่างหลังนี้ 
  • คำที่ทับศัพท์จากภาษาอื่น คำในภาษาญี่ปุ่นที่ทับศัพท์จากภาษาอื่นมักเขียนด้วยคะตะกะนะ อาจให้ทับศัพท์ตามภาษาต้นทาง เช่น
    • カノン (Kanon, ตามหลักต้องว่า "คะนง") ทับศัพท์จากคำภาษาอังกฤษว่า "Kanon", ก็ให้ทับศัพท์ตามคำอังกฤษนั้น และโดยวิธีทับศัพท์ภาษาอังกฤษ เป็น "แคนอน", แต่เนื่องจากเป็นชื่ออะนิเมะ (วิสามานยนาม) ซึ่งในประเทศไทยใช้อย่างเป็นทางการว่า "คาน่อน" จึงให้เขียนชื่ออะนิเมะนี้ว่า "คาน่อน" 
    • チャオリンシェン (Chao Rinshen, ตามหลักต้องว่า "เชา รินเช็ง") ทับศัพท์จากคำภาษาจีนว่า "超鈴音" (Chāo Língchén), ก็ให้ทับศัพท์ตามคำจีนนั้น และโดยวิธีทับศัพท์ภาษาจีน เป็น "เชา หลิงเฉิน", แต่เนื่องจากเป็นชื่อตัวละคร (วิสามานยนาม) ซึ่งในประเทศไทยใช้อย่างเป็นทางการว่า "เจ้า หลินเฉิง" จึงให้เขียนชื่อตัวละครนี้ว่า "เจ้า หลินเฉิง" 
    • วิดีโอเกมที่ผลิตโดยญี่ปุ่นแต่อิงจากภาษาอื่น หรืออาจใช้ตามความนิยมของนักเล่นเกมส่วนใหญ่ โดยอาจใช้อ้างอิงหรือมีการอภิปรายประกอบ
  • คำที่นิยมเขียนเป็นอื่น คำในภาษาญี่ปุ่น ที่ในประเทศไทยนิยมเขียนแบบอื่นซึ่งไม่ต้องตามวิธีทับศัพท์นี้ ก็อาจใช้ต่อไปตามนั้น เช่น
    • 将軍 (shōgun, ตามหลักต้องว่า "โชงุง") แต่นิยมว่า "โชกุน" 
    • 餅 (mochi, ตามหลักต้องว่า "โมะชิ") แต่นิยมว่า "โมจิ" 
    • ちゃん (chan, ตามหลักต้องว่า "ชัง") อันเป็นวิภัตติอย่างหนึ่งในภาษาญี่ปุ่น มักใช้เป็นสร้อยชื่อ และในประเทศไทยนิยมว่า "จัง"
  • คำที่ราชบัณฑิตยสถานรับรอง คำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติเอง ให้ใช้ตามนั้น แม้ไม่ต้องตามวิธีทับศัพท์นี้ก็ตาม เช่น
    • 東京 (Tōkyō, แยกพยางค์เป็น Tō-kyō, และตามหลักต้องว่า "โทเกียว") ราชบัณฑิตยสถานให้ว่า "โตเกียว" โดยชี้แจงว่า ก่อนประกาศใช้หลักเกณฑ์นี้ มีการทับศัพท์ว่า "โตเกียว" แพร่หลายอยู่แล้ว
    • 津波 (tsunami, ตามหลักต้องว่า "สึนะมิ") ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า "สึนามิ" ตามความนิยม

15 ความคิดเห็น:

  1. แล้ว. โอ๋ ชื่อคนเขียนยังไงค่ะ เหม่ง ด้วยนะค่ะ

    ตอบลบ
  2. ศุภัคมัย สุมะหิงพันธ์ พลอย
    สุมิตรา โสกาวัน ครีม
    อธิชา ทับเจริญ ตอง
    #รบกวนแปลให้หน่อยค้ะ

    ตอบลบ
  3. ยุทธนา โหว่มุลตรี เขียนยังงัยครับ

    ตอบลบ
  4. ตังเมย์ เขียนยังไงคะ? รบกวนหน่อยค่ะ

    ตอบลบ
  5. เจี๊ยบ
    ใหม่ เขียนยังไงคะ
    รบกวนทีคะ

    ตอบลบ
  6. เจี๊ยบ
    ใหม่ เขียนยังไงคะ
    รบกวนทีคะ

    ตอบลบ
  7. ศุภณัฐ พรหมภมรเขียนยังใงครับ

    ตอบลบ
  8. บ่ง ม่อน
    เขียนไงครับ

    ตอบลบ
  9. วาริน ธรดุษฎี. นุ้ยซี่
    Warin torndussadee. เขียนยังไงหรอค้ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอเป็นตัวหนังสือ ฮิรานาง้ะ อรัยนี่น้ะค้ะ 😊😊

      ลบ
    2. ศิริรันชลา. เขียนยังไงค่ะ
      นริศรา
      ศรัณชพล

      ลบ
    3. ศิริรันชลา. เขียนยังไงค่ะ
      นริศรา
      ศรัณชพล

      ลบ
  10. ศิริรันชลา
    นริศรา
    ศรัณชพล. ทั้งหมดนี้เขียนไงค่ะ

    ตอบลบ
  11. เขียนคำว่า เนส อมร มาดหมาย/และ
    เนส บ้านแห/มังกรวาลี เขียนไห้หน่อยคับขอร้อง

    ตอบลบ
  12. ผมชื่อธนทรเขียนอย่างไรครับ

    ตอบลบ