การเรียนภาษาด้วยตัวเอง โดยเฉพาะภาษาญี่ปุ่น ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและท้าทาย โดยเฉพาะถ้าเป็นการเริ่มต้นเรียนจากศูนย์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินความตั้งใจของผู้เรียนอย่างแน่นอนครับ
ในบทความนี้ผมก็มี “9 เคล็ดลับการเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตนเองให้ได้ผล โดยเริ่มต้นจากศูนย์”มาฝาก ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ผมใช้ด้วยตัวเอง เลยอยากจะนำมาแบ่งปันให้เพื่อนๆที่อยากจะเริ่มต้นเรียนครับ นอกจากนี้ยังสามารถปรับใช้กับภาษาอื่นๆได้อีกด้วยนะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
1. มี passion ในการเรียน
ถ้าจะบอกว่าข้อแรกนี้สำคัญที่สุดก็คงจะไม่ผิดครับ เพราะข้อเสียของการเรียนด้วยตัวเอง คือไม่มีคนมาคอยจ้ำจี้จ้ำไชนั่นเอง ฉะนั้นเราต้องมีความต้องการที่จะเรียนจริงๆ มีความหลงไหลที่จะเรียน หากไม่มีข้อนี้แล้วการจะเรียนให้สำเร็จก็ยากแล้วละครับ หลายคนอาจจะชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่น ชอบคนญี่ปุ่น ชอบเที่ยวญี่ปุ่น ชอบฟังเพลงญี่ปุ่น ชอบดูอนิเมะญี่ปุ่น ชอบเล่นเกมญี่ปุ่น สิ่งเหล่านี้ก็สามารถเป็นแรงผลักดันที่ดีในการเรียนภาษาญี่ปุ่นได้ครับ
ถ้าจะบอกว่าข้อแรกนี้สำคัญที่สุดก็คงจะไม่ผิดครับ เพราะข้อเสียของการเรียนด้วยตัวเอง คือไม่มีคนมาคอยจ้ำจี้จ้ำไชนั่นเอง ฉะนั้นเราต้องมีความต้องการที่จะเรียนจริงๆ มีความหลงไหลที่จะเรียน หากไม่มีข้อนี้แล้วการจะเรียนให้สำเร็จก็ยากแล้วละครับ หลายคนอาจจะชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่น ชอบคนญี่ปุ่น ชอบเที่ยวญี่ปุ่น ชอบฟังเพลงญี่ปุ่น ชอบดูอนิเมะญี่ปุ่น ชอบเล่นเกมญี่ปุ่น สิ่งเหล่านี้ก็สามารถเป็นแรงผลักดันที่ดีในการเรียนภาษาญี่ปุ่นได้ครับ
2. ฝึกจำตัว ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ ให้ได้ก่อน
ภาษาญี่ปุ่นมีตัวอักษร ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ อย่างละ 46 ตัว ให้ฝึกเขียนและจำให้ได้ครบทุกตัวก่อน รวมไปถึงการฝึกผสมตัวอักษรและวิธีการอ่าน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถหาดูได้เยอะแยะมากมายบนอินเตอร์เน็ตครับ หนึ่งในเคล็ดลับการฝึกจำของผมก็คือ ทำฉลากตัวอักษรทั้งหมดใส่ในกล่อง เวลาอยู่ว่างๆก็หยิบขึ้นฉลากขึ้นมา แล้วให้อ่านตัวอักษรนั้นให้ได้เร็วที่สุดครับ
ภาษาญี่ปุ่นมีตัวอักษร ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ อย่างละ 46 ตัว ให้ฝึกเขียนและจำให้ได้ครบทุกตัวก่อน รวมไปถึงการฝึกผสมตัวอักษรและวิธีการอ่าน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถหาดูได้เยอะแยะมากมายบนอินเตอร์เน็ตครับ หนึ่งในเคล็ดลับการฝึกจำของผมก็คือ ทำฉลากตัวอักษรทั้งหมดใส่ในกล่อง เวลาอยู่ว่างๆก็หยิบขึ้นฉลากขึ้นมา แล้วให้อ่านตัวอักษรนั้นให้ได้เร็วที่สุดครับ
3. หาหนังสือดีๆเพื่อใช้ในการเรียน
หลังจากที่จำฮิระงะนะ และ คะตะคะนะได้พอประมาณแล้ว ให้หาหนังสือดีๆมาเพื่อใช้ประกอบการเรียนครับ โดยหนังสือดีๆนั้นมีมากมาย แต่ที่หลายคนแนะนำเบื้องต้นก็คงจะเป็น みんなの日本語 (มินนะ โนะ นิฮงโกะ) ทั้ง 4 เล่ม นอกจากนี้ที่อยากจะแนะนำก็มีหนังสือ “คันจิที่มาและความหมาย” ซึ่งมีอยู่ 4 เล่มด้วยกัน นำมาใช้ฝึกคันจิควบคู่ไปกับการเรียนจากมินนะ โนะ นิฮงโกะครับ
หลังจากที่จำฮิระงะนะ และ คะตะคะนะได้พอประมาณแล้ว ให้หาหนังสือดีๆมาเพื่อใช้ประกอบการเรียนครับ โดยหนังสือดีๆนั้นมีมากมาย แต่ที่หลายคนแนะนำเบื้องต้นก็คงจะเป็น みんなの日本語 (มินนะ โนะ นิฮงโกะ) ทั้ง 4 เล่ม นอกจากนี้ที่อยากจะแนะนำก็มีหนังสือ “คันจิที่มาและความหมาย” ซึ่งมีอยู่ 4 เล่มด้วยกัน นำมาใช้ฝึกคันจิควบคู่ไปกับการเรียนจากมินนะ โนะ นิฮงโกะครับ
4. เริ่มฝึกตัว คันจิ ควบคู่ไปกับการเรียน
หลายคนอาจจะคิดว่าคันจิยากและน่าเบื่อ แต่สำหรับผมคิดว่ามันสนุกที่สุดสำหรับภาษาญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้การเรียนตัวคันจิจะทำให้เราเข้าใจความคิดของคนญี่ปุ่นมากขึ้นอีกด้วย ในตอนเริ่มต้นเรียนภาษาญี่ปุ่นอาจจะยังไม่ต้องเริ่มฝึกคันจิก็ได้ แต่ให้เรียนรู้และมีคำศัพท์ที่เรารู้สักประมาณหนึ่งก่อน จากนั้นค่อยเริ่มฝึกคันจิตามมาทีหลัง แนะนำว่าอย่าฝึกจำคำใหม่ที่เรายังไม่รู้ แต่ให้จำคันจิจากคำศัพท์ที่เรารู้อยู่แล้วครับ
หลายคนอาจจะคิดว่าคันจิยากและน่าเบื่อ แต่สำหรับผมคิดว่ามันสนุกที่สุดสำหรับภาษาญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้การเรียนตัวคันจิจะทำให้เราเข้าใจความคิดของคนญี่ปุ่นมากขึ้นอีกด้วย ในตอนเริ่มต้นเรียนภาษาญี่ปุ่นอาจจะยังไม่ต้องเริ่มฝึกคันจิก็ได้ แต่ให้เรียนรู้และมีคำศัพท์ที่เรารู้สักประมาณหนึ่งก่อน จากนั้นค่อยเริ่มฝึกคันจิตามมาทีหลัง แนะนำว่าอย่าฝึกจำคำใหม่ที่เรายังไม่รู้ แต่ให้จำคันจิจากคำศัพท์ที่เรารู้อยู่แล้วครับ
5. เทคนิคการจดจำด้วยภาพและการเชื่อมโยงวิธีการจดจำคำศัพท์ใหม่ๆ ที่ผมใช้อยู่เสมอและได้ผลดีที่สุดนั่นก็คือ การจดจำด้วยภาพและการเชื่อมโยง ยกตัวอย่างคำว่า
- 車 (คุรุมะ) แปลว่า รถ นึกถึงภาพ “คุณครูขับรถมา” > ครูมา > คุรุมะ
- 食べる (ทะเบะรุ) แปลว่า กิน นึกถึงภาพ “ก่อนกินข้าวต้องทำท่าตะเบ๊ะ” > ตะเบ๊ะ > ทะเบะรุ
- 写真 (ชะชิง) แปลว่า รูปถ่าย นึกถึงภาพ “เห็นรูปจนชาชิน” > ชาชิน > ชะชิง
การเชื่อมโยงนั้นสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบมากและไม่จำกัดวิธีการ ซึ่งพอทำแบบนี้บ่อยๆแล้ว สุดท้ายมันก็จะจำเข้าหัวโดยอัตโนมัติเลยละครับ ไม่เชื่อต้องลอง
- 車 (คุรุมะ) แปลว่า รถ นึกถึงภาพ “คุณครูขับรถมา” > ครูมา > คุรุมะ
- 食べる (ทะเบะรุ) แปลว่า กิน นึกถึงภาพ “ก่อนกินข้าวต้องทำท่าตะเบ๊ะ” > ตะเบ๊ะ > ทะเบะรุ
- 写真 (ชะชิง) แปลว่า รูปถ่าย นึกถึงภาพ “เห็นรูปจนชาชิน” > ชาชิน > ชะชิง
การเชื่อมโยงนั้นสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบมากและไม่จำกัดวิธีการ ซึ่งพอทำแบบนี้บ่อยๆแล้ว สุดท้ายมันก็จะจำเข้าหัวโดยอัตโนมัติเลยละครับ ไม่เชื่อต้องลอง
6. สร้างสิ่งแวดล้อมของตนเองให้เป็นญี่ปุ่นมากที่สุด
คอมพิวเตอร์ โซเชี่ยลเน็ตเวิร์คต่างๆ โทรศัพท์มือถือ ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนเป็นภาษาญี่ปุ่นให้หมดครับ ถ้ามีคำไหนที่ไม่เข้าใจก็ให้เปิดค้นหาความหมายเอา นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับที่อยากจะแนะนำอีกอย่างคือ เขียนคำศัพท์แปะไว้บนสิ่งของต่างๆในบ้านเลย ถ้าเราได้เห็นมันอยู่ทุกวันๆ รับรองว่าต้องจำได้อย่างแน่นอนครับ
คอมพิวเตอร์ โซเชี่ยลเน็ตเวิร์คต่างๆ โทรศัพท์มือถือ ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนเป็นภาษาญี่ปุ่นให้หมดครับ ถ้ามีคำไหนที่ไม่เข้าใจก็ให้เปิดค้นหาความหมายเอา นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับที่อยากจะแนะนำอีกอย่างคือ เขียนคำศัพท์แปะไว้บนสิ่งของต่างๆในบ้านเลย ถ้าเราได้เห็นมันอยู่ทุกวันๆ รับรองว่าต้องจำได้อย่างแน่นอนครับ
7. อ่านแค่หนังสือ ไม่พอสำหรับการเรียนรู้
หนังสือเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการเรียนเท่านั้นครับ บนโลกนี้มีสื่อการเรียนรู้อีกมากมายนอกจากในหนังสือ เช่น หาเพลงญี่ปุ่นมาฟังแล้วทำความเข้าใจความหมาย หาหนังหรือการ์ตูนญี่ปุ่นมาดู แต่อย่ามัวแต่อ่านซับไตเติ้ลนะ ไม่งั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร ให้ใช้หูคอยฟังภาษาญี่ปุ่นไปด้วย เวลาที่เราเจอคำศัพท์ที่รู้จักจากในหนังหรือการ์ตูน มันรู้สึกภูมิใจอย่างบอกไม่ถูกเลยหล่ะ นอกจากนี้การเล่นเกมภาษาญี่ปุ่นก็ช่วยได้ไม่น้อยเลยละครับ
หนังสือเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการเรียนเท่านั้นครับ บนโลกนี้มีสื่อการเรียนรู้อีกมากมายนอกจากในหนังสือ เช่น หาเพลงญี่ปุ่นมาฟังแล้วทำความเข้าใจความหมาย หาหนังหรือการ์ตูนญี่ปุ่นมาดู แต่อย่ามัวแต่อ่านซับไตเติ้ลนะ ไม่งั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร ให้ใช้หูคอยฟังภาษาญี่ปุ่นไปด้วย เวลาที่เราเจอคำศัพท์ที่รู้จักจากในหนังหรือการ์ตูน มันรู้สึกภูมิใจอย่างบอกไม่ถูกเลยหล่ะ นอกจากนี้การเล่นเกมภาษาญี่ปุ่นก็ช่วยได้ไม่น้อยเลยละครับ
8. สงสัยตรงไหนให้หาคำตอบเดี๋ยวนั้นเลย
สมมติว่ากำลังนั่งคิดอะไรเพลินๆ แล้วอยู่ดีๆเกิดนึกแวบเข้ามาในหัวว่า “คำนี้ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าอะไรนะ รู้สึกคุ้นๆจัง” ถ้าเป็นแบบนี้อย่าปล่อยผ่านครับ ให้เปิดหาคำตอบของความสงสัยเดี๋ยวนั้นเลย แล้วคำตอบของความสงสัยนั้นมันจะจำฝังหัวเราอัตโนมัติเลยละครับ
สมมติว่ากำลังนั่งคิดอะไรเพลินๆ แล้วอยู่ดีๆเกิดนึกแวบเข้ามาในหัวว่า “คำนี้ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าอะไรนะ รู้สึกคุ้นๆจัง” ถ้าเป็นแบบนี้อย่าปล่อยผ่านครับ ให้เปิดหาคำตอบของความสงสัยเดี๋ยวนั้นเลย แล้วคำตอบของความสงสัยนั้นมันจะจำฝังหัวเราอัตโนมัติเลยละครับ
9. ทบทวนให้มากที่สุด
Herman Ebbinghaus ได้ทําการทดสอบความจําหลังการเรียนรู้คําที่ไม่มีความหมายในช่วงเวลาที่ต่างๆกัน พบว่าคนเราจะจําได้100%ในช่วงเริ่มต้น เมื่อเวลาผ่านไป20นาที ความจําจะเหลือ60% 1ชั่วโมงผ่านไปจะจําได้50% 9 ชั่วโมงผ่านไปจะจําได้40% และภายใน1วัน ความจําจะเหลือประมาณ30%
Herman Ebbinghaus ได้ทําการทดสอบความจําหลังการเรียนรู้คําที่ไม่มีความหมายในช่วงเวลาที่ต่างๆกัน พบว่าคนเราจะจําได้100%ในช่วงเริ่มต้น เมื่อเวลาผ่านไป20นาที ความจําจะเหลือ60% 1ชั่วโมงผ่านไปจะจําได้50% 9 ชั่วโมงผ่านไปจะจําได้40% และภายใน1วัน ความจําจะเหลือประมาณ30%
นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องอ่านและทบทวนสิ่งที่เรียนมาอยู่ตลอด เวลาในแต่ละวันอย่าปล่อยให้เสียเปล่าครับ ให้อ่านทบทวนและฝึกฝนเนื้อหาที่เคยเรียนมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาจจะไม่ต้องถึงกับจัดตารางการเรียน แต่หากว่าว่างตอนไหนก็ให้อ่าน อ่านให้มากที่สุดครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น